วันนี้เราจะพาทุกคนมาดูโรคยอดฮิตในปี 2022 กัน นั่นคือโรคออฟฟิศซินโดรม โดยเราจะพาทุกคนมารู้จักกับ ออฟฟิศซินโดรม ให้ดีขึ้นว่าจริงๆ แล้ว เจ้าโรคนี้คืออะไร สาเหตุมาจากอะไร และจะมีวิธีการป้องกันยังไงบ้าง
ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร
โรคออฟฟิศซินโดรม เป็น กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) และอาการปวดที่เกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น (Tendinitis) รวมไปถึงอาการปวด ชา จากปลายประสาทที่ถูกกดทับ ซึ่งอาการเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดยมากอาการเหล่านี้มักจะเกิดกับกลุ่มพนักงานออฟฟิศ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกทึ่คุ้นหูกันว่า ออฟฟิศซินโดรม
สาเหตุการเกิดออฟฟิศซินโดรม
ซึ่งสาเหตุของออฟฟิศซินโดรมนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ท่าทางการทำงาน (Poster) ที่ไม่ถูกต้อง อาทิ ลักษณะท่านั่งทำงาน การวางมือ ศอก ลงบนโต๊ะทำงาน หรือการนั่งเขียนงานหรือพิมพ์งานนานๆ
รวมไปถึง อาการบาดเจ็บจากที่เกิดจากงานซ้ำๆ (Cumulative Trauma Disorders) หรือระยะเวลาในการทำงานที่มากเกินไป ทำให้ร่างกายเกิดการล้า เช่น การใช้ข้อมือซ้ำๆ ในการใช้เมาส์ อาจทำให้เกิดการอักเสบของเอ็นบริเวณข้อมือ หรือพังผืดเส้นประสาทบริเวณข้อมือได้
แม้ตัวโรคออฟฟิศซินโดรมเองจะไม่ได้ร้ายแรงอะไร เพียงแค่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ออฟฟิศซินโดรมนั้น เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคร้ายแรงต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคกระดูกสันหลังคด โรคแขนขาอ่อนแรง และในกรณีรุนแรงมากอาจทำให้กล้ามเนื้อหด ยึด ตึง
นอกจากนี้สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูงหากเกิดโรคเหล่านี้ และไม่สามารถทำการรักษาให้หายได้ด้วยการทำกายภาพบำบัด ผู้ป่วยจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งเป็นทางเลือกที่ไม่ค่อยอยากมีใครอยากเลือกเท่าไหร่นัก เพราะทางเลือกที่จะต้องผ่าตัดนั้น เรียกได้ว่า เป็นทางเลือกที่มีความเสี่ยงสูง อีกทั้งยังอาจเสียทั้งเงินทั้งเวลา
วิธีการป้องกันออฟฟิศซินโดรม
วิธีป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรมง่ายๆ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเราเอง ไม่ว่าจะเป็น การปรับโต๊ะเก้าอี้ให้เหมาะกับสรีระของตนเอง พยายามเปลี่ยนอิริยาบทบ่อยๆ ไม่นั่งท่าเดิมนานๆ รู้จักพักสายตา มองสิ่งอื่นให้ผ่อนคลาย ลดการใช้โทรศัพท์เป็นเวลานานๆ และที่สำคัญอย่าลืมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง เพียงเท่านี้เราก็จะห่างไกลจาก โรคออฟฟิศซินโดรมได้แล้ว
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ออฟฟิศซินโดรม คลิก >> https://www.rehabcareclinic.com/ปวดคอบ่าเรื้อรัง-ออฟฟิศซินโดรม